การเดินทางของ "กลิ่น"

Last updated: 23 พ.ย. 2565  |  725 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กลิ่น

การเดินทางของ "กลิ่น"


"กลิ่น" มีการเดินทางเพื่อสร้างความหมาย ประสบการณ์ ความทรงจำและจินตนาการให้กับมนุษย์


"จมูก" เป็นอวัยวะที่สำคัญ ถือเป็น 1 อายตนะทั้ง 5 ของมนุษย์ ที่รับรู้ กลิ่น และส่งผลต่อความรู้สึกและอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้


จากทฤษฎีทางการแพทย์ ได้บอกว่า การรับรู้กลิ่นของมนุษย์นั้น เมื่อมนุษย์ได้สูดลมหายใจเข้าไปในโพรงจมูก ถ้าเป็นอากาศทั่วๆ ไป ลมก็จะเคลื่อนตัวเข้าไปยังหลอดลม แต่หากมีกลิ่นใดที่ปะปนเข้ามานั้น กลิ่นนั้น ก็จะระเหยขึ้นไปที่แถบรับกลิ่น ที่อยู่ส่วนบนของโพรงจมูก เรียกอวัยวะนี้เรียกว่า Olfactory bulb ด้วยพื้นที่ขนาดเล็กมากเพียง 2.5 เซนติเมตรในโพรงจมูกส่วนบนนี้ อัดแน่นไปด้วยเซลล์ประสาทรับกลิ่นมากกว่า 50 ล้านเซลล์ และแต่ละเซลล์ยังมีขน ( Celia) ช่วยรับความรู้สึก ยื่นออกมานวน 6-8 เส้น คอยรับกลิ่นแล้วส่งต่อไปที่เซลล์ประสาทรับกลิ่น ศึ่งมีลักษณะเรียวยาว คล้ายขนเล็กๆ จากนั้นก็จะถูกกระตุ้นและกลิ่นถูกแปลสภาพเป็นประจุบวก ประจุลบ หรือกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ แล้วส่งจากปลายประสาทนี้ไปยังสมอง


จากทฤษฎีข้างต้น ทำให้เราทราบได้ว่า อะไรก็ตามที่มีกลิ่น จะมีการกระจายโมเลกุลของตัวเองออกมา และเชื่อว่า แถบรับกลิ่นที่โพรงจมูกนั้น จะสามารถบอกข้อแตกต่างของขนาดและรูปร่างของโมเลกุลที่ต่างชนิดกันได้ และข้อแตกต่างนี้เองจะถูก บันทึกไว้ ก่อนที่เซลล์รับกลิ่นจะส่งกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ค่าหนึ่งไปยังสมองและสมองก็จะรู้ได้ว่า ค่านั้น คือกลิ่นของอะไร มีความหมายอย่างไร และควรจะทำอย่างไรต่อไป


ส่วนของสมองที่กลิ่นเดินทางไปถึงนี้ อยู่ห่างจาก Olfactory bulb ประมาณ 1 นิ้วเรียกว่า ลิมบิก ซิสเต็ม limbic system อยู่ในสมองส่วนกลาง ซึ่งลิมบิก ชิสเต็ม ในสมอง ทำหน้าที่แปลความหมายที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นส่งมาให้ ว่ากลิ่นที่ได้รับมานี้เป็นกลิ่นอะไร เคยได้กลิ่นมาแล้วหรือไม่ เมื่อไหร่ ที่ไหน กับใคร หอมหรือว่าเหม็น ความหมายของกลิ่นนี้ นอกจากจะมาจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละคนแล้ว ก็มีเรื่องสัญชาตญาณเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่เรื่องสัญชาตญาณนี้ เราจะพบในสัตว์มากกว่าในคน เพราะสำหรับคน ระบบการให้ความหมายของกลิ่นจะมาจากการเรียนรู้เสียเป็นส่วนใหญ่ และจากลิมบิกชิสเต็มนี้ เมื่อรู้แล้วว่าเป็นกลิ่นอะไร มันก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองอื่นๆ อีกต่อหนึ่ง ว่าควรทำอย่างไรต่อไป เช่น สะบัดหน้าหนี ยกมือขึ้นปิดจมูก ไปสูดดมใกล้ๆด้วยความชื่นใจ และขั้นตอนทั้งหมดนี้ นับตั้งแต่กลิ่นได้ผ่านเข้ามาในโพรงจมูกของคนเราจะใช้เวลาในการวิเคราะห์กลิ่นต่างๆเพียงชั่วเสี้ยววินาทีเท่านั้นเอง


และนี่ความซับซ้อน ในกลไกของสมอง ที่ช่วยให้มนุษย์ได้สัมผัสกับกลิ่น รับรู้กลิ่น และสามารถสร้างความสุข ที่เกิดขึ้นจากการดมกลิ่นที่หอมๆ ได้

ที่มา หนังสือ หอมระเหย...ศาสตร์แห่งการบำบัด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้