Last updated: 3 ม.ค. 2567 | 628 จำนวนผู้เข้าชม |
แน่นอน วิทยากรทุกคนก็ไม่อยากจะให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆ ขึ้นมา ดังนั้น วิทยากรจึงต้องมีการดูแลสุขภาพตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทั้งเรื่องการกิน การนอน การออกกำลังกาย และการดูแลด้านจิตใจ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม บางช่วงเวลา ก็อาจจะมีปัญหาด้านสุขภาพเกิดขึ้นได้ โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ ทั้งอาจจะเกิดจากสภาพแวดล้อม ที่เป็นปัจจัยภายนอก หรือปัญหาจากภายในตัวของวิทยากรเอง
ดังนั้น บทความนี้ ผมจึงขอแนะนำ "ของขวัญจากธรรมชาติ" ที่จะมาช่วยบรรเทา หรือป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นกับวิทยากร เพื่อให้สามารถดำเนินการสอนได้อย่างราบรื่น และบรรเทาอาการต่างๆ ให้ทุเลาลงได้ สิ่งนั้นคือ "น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ"
เพราะน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาตินั้น เป็นน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอม และมีสารสำคัญต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ และได้ใช้มานานหลายพันปีมาแล้ว เรามารู้จักน้ำมันหอมระเหย ที่จะมาช่วยบรรเทาอาการ 9 อาการยอดฮิตของวิทยากรกัน
อาการแรก ไอ เจ็บคอ
อาการ ไอ เจ็บคอ มาจากหลายสาเหตุ ทั้งติดเชื้อไวรัส อาการภูมิแพ้ ทานของทอด หรือ การใช้เสียงเยอะ ซึ่งหากเกิดอาการนี้ จะส่งผลให้ น้ำเสียง ในขณะสอน อาจจะไม่มีพลัง และทำให้เกิดอาการไอ เจ็บคอในขณะสอน ส่งผลให้เกิดความกังวลได้ในขณะสอน
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ ได้แก่ Eucalyptus ,Tea Tree , Lemon
วิธีการใช้ ก็สามารถทำได้ 2 อย่างคือ
1. การหยด Lemon 1-2 หยด ลงในน้ำอุ่น 1 ถ้วยกาแฟ แล้วจิบ เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มคอและช่วยลดประมาณเชื่้อโรคภายในลำคอ เพื่อความสดชื่นได้
2. หยด Eucalyptus / Teatree / Lemon ลงในเครื่องกระจายกลิ่น เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยกระจายทั่วห้อง เมื่อเราหายใจเข้าไป สารสำคัญของน้ำมันหอมระเหย จะเข้าไปช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในทางเดินหายใจ และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
อาการที่ 2 หวัด คัดจมูก
อาการหวัด คัดจมูก มีผลต่อเสียงที่ที่พูดออกมา อีกทั้ง ยังทำให้หายใจไม่สะดวก หายใจไม่ทัน ในขณะที่บรรยาย จะรู้สึกเหนื่อยง่าย และที่สำคัญ ทำให้เสียภาพลักษณ์ และผู้เรียนอาจจะรู้สึกกลัวการติดหวัดได้
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ ได้แก่ Lemon , Thyme , Eucalyptus
ให้หยด Lemon / Thyme / Eucalyptus ลงในเครื่องกระจายกลิ่น เพื่อให้นำมันหอมระเหยกระจายทั่วห้อง เมื่อเราหายใจเข้าไป สารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยเหล่านี้ จะเข้าสู่ร่างกาย ไปช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในทางเดินหายใจ และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้น คลายเครียด
อาการที่ 3 เครียด กังวล นอนไม่หลับ
อาการนี้ มักจะพบจากความเครียด หรือมีเรื่องให้ต้องคิดมากมาย ซึ่งอาจจะช่วงเตรียมงานสอน และก่อนจะถึงวันบรรยาย เป็นความกังวล ที่ส่งผลทำให้นอนไม่หลับ เครียด
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ ได้แก่ Lavender , Bergamot , Roman Chamomile ทั้ง 3 ชนิดนี้ ช่วยในเรื่องการผ่อนคลาย และช่วยให้หลับได้ดีขึ้น
สามารถเลือกใช้กลิ่นใดกลิ่นหนึ่งได้ตามความชอบ เพราะทั้ง 3 ตัวนี้ ช่วยเรื่องสร้างความผ่อนคลาย คลายกังวล และช่วยเรื่องการนอนหลับได้เป็นอย่างดี สามารถหยดไปที่หมอน หรือผ้าห่ม เพื่อสูดดมก่อนนอนได้ หรือจะหยดใส่เครื่องกระจายกลิ่น (Diffuser ) ก่อนนอนก็ได้ เมื่อเราหายใจเข้า ร่างกายก็ได้รับสารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยเหล่านี้ตลอดทั้งคืน หรือจนกว่า เครื่องจะหยุดทำงาน ตามเวลาที่เราตั้งไว้
อาการที่ 4 ไม่สดชื่น ขาดพลัง
อาการนี้ ก็อาจจะต่อเนื่องมาจากความเครียดที่สะสม หรือเจอสถานการณ์บางอย่างเข้ามาในชีวิต หรืออาการหลังเจ็บป่วย ส่งผลให้เกิดภาวะไม่สดชื่น ขาดพลังขึ้นมาได้
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ ได้แก่ Peppermint , Lemon หรือกลุ่ม Citrus , Eucalyptus ทั้ง 3 ชนิดนี้ ช่วยสร้างบรรยากาศที่สดชื่น เสริมพลัง และทำให้เรารู้สึกกะปรี้กะเปร่า มีพลังขึ้นมา เกิดความตื่นตัว พร้อมที่จะทำงานในแต่ละวันได้ดีขึ้น
สามารถหยด Peppermint , Lemon , Eucalyptus ลงในเครื่องกระจายกลิ่น เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยกระจายทั่วห้อง เมื่อเราหายใจเข้าไป สารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยเหล่านี้ จะเข้าสู่ร่างกาย และกลิ่นหอมก็ไปกระตุ้นสมองส่วน Limbic และ hypothalamus ช่วยให้เกิดความรู้สึกที่สดชื่น มีพลังขึ้นมา
อาการที่ 5 ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ด้วยภาวะความเครียด หรือการทานอาหารในขณะทำงาน เตรียมงาน ไม่ค่อยได้ลุกเดินไปไหน ส่งผลให้ภาวะการย่อยอาหารไม่ดี ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อขึ้นได้
น้ำมันหอมระเหยที่ช่วยเรื่อง การลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้แก่ Fennel , Peppermint และ Ginger สามารถหยดใส่ชาอุ่นๆ หรือน้ำอุ่น หรือน้ำเปล่า เพียง 1 หยด แล้วดื่มเข้าไป ก็ช่วยให้บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ หรือบางครั้ง นำมาผสมกับน้ำมันเบสออยล์ แล้วนวดที่ท้อง ก็ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้เช่นกัน และกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย ทั้ง 3 ชนิดนี้ ก็ช่วยให้ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นด้วย
อาการที่ 6 ขาดสมาธิ ขาด Focus
บางช่วง ก็มีอาการฟุ้งบ้าง ขาดการโฟกัสบ้าง อาจเพราะมีเรื่องต้องให้คิดหลายเรื่อง นอกจากนั่งสมาธิ หรือฝึกสติแล้ว กลิ่นหอมๆ ของน้ำมันหอมระเหย ก็ช่วยเพิ่มการโฟกัส และทำให้กลับมาสู่ปัจจุบันได้เช่นกัน
กลิ่นที่แนะนำเรื่อง การเพิ่ม Focus ได้แก่ Rosemary , Peppermint , Vetiver
ลองหยดกลิ่นน้ำมันหอมระเหย 3 กลิ่นนี้ ลงในเครื่องกระจายกลิ่น จะช่วยเสริมสร้างการ Focus และเสริมสร้างสมาธิ รวมทั้งสร้างความผ่อนคลายได้เช่นกัน
อาการที่ 7 ปวดเมื่อยเท้า แขน ขา
เมื่อต้องยืนสอน หรือบรรยายนานๆ กลับถึงบ้านย่อมส่งผลต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ลองหหยิบน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ Peppermint , Wintergreen หรือ Cypress มาผสมกับน้ำมันเบส มาทา นวด บริเวณที่ปวด เมื่อยล้า ก็ช่วยเพิ่มความผ่อนคลายด้านอารมณ์ และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน และกลิ่นหอมๆ ของน้ำมันหอมระเหยก็ยังช่วยให้คลายเครียดไปได้ด้วย
อาการที่ 8 เวียนหัว เมารถ
อาการเวียนหัว เมารถ ก็อาจเกิดขึ้นได้ จากการเดินทาง หรือทำงานอยู่หน้าคอมนานเกินไป ก็ส่งผลให้เกิดอาการเหล่านี้ขึ้นได้ ลองหยิบน้ำมันหอมระเหย กลิ่น Peppermint หรือ Camphor Oil หรือ Rosemary มาสูดดม ก็ช่วยให้คลายอาการได้ และยังช่วยให้รู้สึกสดชื่น ตื่นตัวขึ้นมาได้
อาการที่ 9 ปวดท้องประจำเดือน ( เฉพาะคุณสุภาพสตรี )
อันนี้ ก็จะเป็นอาการเฉพาะวิทยากรสุภาพสตรีเท่านั้น ลองใช้กลิ่น Clary Sage , Lavender , Geranium เพื่อเสริมสร้างความผ่อนคลายและส่งผลให้ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ฮอร์โมนภายใน ทำให้คลายความปวดลงได้ เพียงแค่หยดลงใน เครื่องกระจายกลิ่นให้กระจายทั่วในห้องทำงาน หรือห้องนอน ก็ได้กลิ่นที่ช่วยเสริมสร้างให้ผ่อนคลายได้
และนี่ก็เป็น Quick Guide สำหรับการเลือกนำ้มันหอมระเหยแบบง่าย เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพของวิทยากร และยังมีน้ำมันหอมระเหยชนิดต่างๆ อีกมากมายที่ยังสามารถนำมาใช้เพื่อดูแลอาการต่างๆ เหล่านี้ได้อีกเช่นกัน
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาตินั้น ช่วยดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ ได้เป็นอย่างดีเลยใช่ไหม วิทยากรท่านใดมีน้ำมันหอมระเหยกลิ่นไหนอยู่ที่บ้านตามที่ได้เขียนมาข้างต้นนี้ ก็ลองเอามาใช้กันดู สำหรับท่านที่ยังไม่มี ลองหาซื้อจากร้านที่จำหน่ายน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติมาลองหยิบมาใช้กันดูนะครับ เพื่อจะได้นำมาใช้ดูแลสุขภาพประจำวันของเรา ให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี ใช้งานง่าย ผ่อนคลายจิตใจ เพื่อเตรียมพร้อมกับการแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กับสังคมกัน
#Tatiyathailand #ตติย
#น้ำมันหอมระเหย
22 ม.ค. 2567
21 พ.ย. 2566
21 พ.ย. 2566
25 มี.ค. 2566