Last updated: 22 ก.พ. 2566 | 1754 จำนวนผู้เข้าชม |
ได้อ่านบทความวิชาการสำหรับการศึกษาต่อเนื่อง ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ เรื่อง " การใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยในการยับยั้งมะเร็ง " ทำให้ได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับ ประโยชน์มากมาย ที่กำลังรอการพิสูจน์ เพื่อมนุษยชาติอย่างมากมาย จึงได้สรุปมาให้ได้อ่านกัน
ในบทความวิชาการนี้ ได้อธิบายถึง องค์ประกอบที่สำคัญในน้ำมันหอมระเหยที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็ง ซึ่งได้แก่สารในกลุ่ม เทอร์พีน ( Terpene ) เทอร์พีนอยด์ ( Terpenoid ) และสารประกอบกลุ่มอะโรมาติก ( Aromatic Compound )
ในประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญชองประชากร โดย 5 อันดับแรกที่เป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตของผุ้ป่วยมะเร็ง ในช่วงปี พศ 2555 ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งปากมดลูก
ผู้วิจัยได้สรุปถึง รายงานการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็ง แต่ละชนิดที่่านมา ดังนี้
1. มะเร็งเต้านม ได้มีการศึกษา น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม ได้แก่ น้ำมันต้องตั่ง ( Solanum spirale Roxb.) น้้ามันกำยาน (Boswellia sacra) น้้ามันชา (Melaleuca alternifolia) น้้ามันตะไคร้ (Cymbopogon flexuosus)
2. มะเร็งลำไส้ ได้มีการศึกษา น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ ได้แก่ น้้ามันบุนนาค (Mesua ferrea) น้้ามันใบมะตูม (Aegle marmelos) marmelos) น้้ามันหอมระเหยจากมะนาว (Citrus aurantifolia) น้้ามันใบหยางเหมย (Myrica rubra) น้้ามันจากโป๊ยกั๊ก (Illicium verum)
3. มะเร็งปอด ได้มีการศึกษา น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งปอด ได้แก่ น้้ามันลาเวนเดอร์ (Lavandula dentata L.) น้้ามันใบออริกาโน่ซึ่งมีสารส้าคัญคือ charvacol (64.29%) น้้ามันเหง้าว่านนางค้า (Curcuma aromatica)
4. มะเร็งตับ ได้มีการศึกษา น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ ได้แก่ น้้ามันหอมระเหยใบเลมอนไทม์ (Thymus citriodorus) น้้ามันหอมระเหยต้นพิษนาศน์ (Artemisia indica)
5. มะเร็งปากมดลูก ได้มีการศึกษา น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูก ได้แก่ น้้ามันหอมระเหยล้าต้นและใบจากสวีทกัม (Liquidambar styraciflua L)
และนอกจากการศึกษาสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยแล้ว ปัจจัยอีกสิ่งที่สำคัญ สำหรับการนำน้ำมันหอมระเหยเข้าสู่ร่างกาย คือ ระบบการนำส่งน้ำมันหอมระเหย ซึ่งต้องพิจารณาตัวนำส่งน้ำมันหอมระเหยเข้าสู่ร่างกายด้วย
จากบทความวิชาการนี้ ได้กล่าวไว้ว่า แม้ว่าในปัจจุบันการรักษามะเร็งโดยใช้น้้ามันหอมระเหยเป็นวิธีการรักษาหลักยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนถึงประสิทธิภาพในการรักษาแต่การใช้น้้ามันหอมระเหยในการป้องกันมะเร็งหรือใช้ร่วมกับวิธีการรักษามะเร็งในปัจจุบันวิธีอื่น ๆ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและเหมาะสมอย่างยิ่งส้าหรับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีแนวโน้มถึงการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งไม่เพียงแต่ใช้น้้ามันหอมระเหยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ลดจำนวนคนไข้มะเร็ง ยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรทุกช่วงวัยอีกด้วย
ดังนั้น น้ำมันหอมระเหย จึงเป็นอีกศาสตร์ทางเลือกที่นำมาใช้ในการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ซึ่งในประเทศไทย อาจจะยังไม่ได้รู้จักสรรพคุณที่ซ่อนอยู่ในน้ำมันหอมระเหยกันมากเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ จะรู้จักแค่ความหอม และช่วยผ่อนคลาย แต่ในอนาคต คิดว่า คนไทย จะเริ่มรู้จักและหันมาใช้น้ำมันหอมระเหยกันมากขึ้น อย่างแน่นอน
เอกสารอ้างอิง : บทความวิชาการสำหรับการศึกษาต่อเนื่อง เรื่องการใช้ประโยชน์จากน้้ามันหอมระเหยในการยับยั้งมะเร็ง , ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
2 ม.ค. 2567
21 พ.ย. 2566
22 ม.ค. 2567
21 พ.ย. 2566