การผสมนำ้มันหอมระเหย
ตามหลักการการใช้น้ำมันหอมระเหย งานวิจัยส่วนใหญ่ จะได้ผลออกมาเหมือนกันว่า การใช้นำ้มันหอมระเหยผสมกันหลายตัว จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้นำ้มันหอมระเหยแบบตัวเดียว และการผสมน้ำมันหอมระเหยก็มีเทคนิคการผสมมากมาย และขึ้นอยู่กับวัตถประสงค์ด้วย ซึ่งตามศาสตร์สุคนธบำบัด เราจะต้องคำนึงถึง สารประกอบสำคัญที่มีอยู่ในน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดที่จะนำมาเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ และนอกจากสรรพคุณแล้ว การผสมให้ได้กลิ่นที่หอม และทำให้ผู้ใช้หรือตัวเรารู้สึกชอบ ยิ่งส่งผลดีในการดูแลบำบัดร่างกายด้วย
ก่อนที่จะผสมนำ้มันหอมระเหย ขอแนะนำให้ศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่อยู่ในน้ำมันหอมระเหยที่ต้องการจะใช้ ก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้ถึงแนวกลิ่นที่จะใช้ โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย
เราสามารถแบ่งกลุ่มประเภทกลิ่นนำ้มันหอมระเหย ออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่
1. Citrus
แนวกลิ่นที่มีความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า กลิ่นออกแนวเปรี้ยว เมื่อผสมกลิ่นกลุ่มนี้ ลงไปกับกลุ่มอื่น มักจะได้กลิ่นกลุ่มนี้ก่อน มักนิยมผสมกับกลุ่ม Floral และ Herbaceous จะช่วยสร้างกลิ่นที่มีความสดชื่นให้กับสูตรนั้น น้ำมันหอมระเหยกลุ่มนี้ ได้แก่ Lemon , Orange , Citrus , Lime , Petitgrain , Citronella เป็นต้น
2. Minty
แนวกลิ่นนี้ จะให้ความรู้สึกที่สะอาด สดชื่น มีพลัง ช่วยสร้างความสดชื่นได้เป็น0อย่างดี ถือเป็นกลุ่ม Top Note และเมทื่อผสมลงในน้ำมันกลุ่มอื่นๆ จะช่วยให้กลิ่นนั้น มีความสดชื่น มีพลังขึ้นมา นำ้มันหอมระเหยกลุ่มนี้ ได้แก่ Peppermint , Spearmint , Wintergreen เป็นต้น
3 .Herbaceous
น้ำมันหอมระเหยกลุ่มนี้ จะให้กลิ่นแนวธรรมชาติ มีกลิ่นความเป็นสมุนไพร มีทั้งกลิ่นหอมแบบฝาด หลากลาย ลางกลิ่น ออกแนวราก ใบ เปลือก ผสมผสานกัน กลุ่มนี้ ช้วยสร้างความแปลกใหม่ของกลิ่นที่ผสมออกมา นำ้มันหอมระเหยกลุ่มนี้ ได้แก่ Careway , Clary Sage , Dill , Fennel , Marjoram , Tarragon , Thyme เป็นต้น
4. Woody
นำ้มันหอมระเหยกลุ่มนี้ ให้กลิ่นที่ สงบ ลุ่มลึก มีกลิ่นแนวธรรมชาติมาก บางกลิ่นคล้ายกลิ่นดิน กลิ่นดินหลังฝนตก กลิ่นป่าไม้ ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยุ่ท่ามกลางธรรมชาติจริงๆ มักนิยมใช้กลุ่มนี้ เป็น Fixative ด้วย เพราะด้วยการที่มีกลิ่น ออกแนว Middle Note และ Base Note จะมีโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ การระเหยจึงช้ากว่า กลิ่นนำ้มันหอมระเหยของกลุ่มอื่น นำ้มันหอมระเหยกลุ่มนี้ ได้แก่ Cypress , Cedar Wood , Fir , Pine , Hinoki ,Sandal Wood , Vetiver เป็นต้น
5. Earthy
เป็นกลุ่มนำ้มันหอมระเหยที่ความรู้สึกผ่อนคลาย นุ่มลึก อบอุ่น เมื่อผสมกับกลุ่มอื่น ให้แนวกลิ่นที่ดูมีคลาส มักใช้เป็น Middle Note และ Base Note นำ้มันหอมระเหยกลุ่มนี้ ได้แก่ Frankincense , Myrrh , Patchouli, Vetiver เป็นต้น
6. Spicy
กลุ่มนี้ ให้กลิ่นที่อบอุ่น ลุ่มลึก มีเสนห์ น่าค้นหา หากได้ลองผสมกับกลิ่นกลุ่มอื่นๆ ทำให้กลิ่นดูมีเสนห์ น่าใช้ และมีพลัง นำ้มันหอมระเหยกลุ่มนี้ ได้แก่ Anise , Black Pepper , Cinnamon , Clove , Ginger , Tulsi เป็นต้น
7. Camphoraceous
นำ้มันหอมระเหยกลุ่มนี้ ให้กลิ่นคล้ายมินต์ มีความเย็น สดชื่น ออกแนวสะอาด ให้โทนกลิ่นที่อยู่ในกลุ่ม Top Note และ Middle Note นำ้มันหอมระเหยกลุ่มนี้ ได้แก่ Camphor , Eucalyptus , Hyssop , Sage , Teatree เป็นต้น
8. Floral
เป็นกลุ่มที่สร้างความหลงใหลได้ดี มีกลิ่นหอมหวาน ดึงดูด มีเสนห์ น่าค้นหา น่าสัมผัส กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นนำ้มันหอมระเหยที่สกัดจากดอกไม้ นำ้มันหอมระเหยกลุ่มนี้ ได้แก่ Chamomile , Geranium , Lavender , Rose , Ylang Ylang เป็นต้น
ดังนั้น การผสมน้ำมันหอมระเหย ด้วยแนวกลิ่นต่างๆ จะช่วยให้เกิดกลิ่นใหม่ที่มีเสนห์ น่าค้นหา น่าใช้ยิ่งขึ้น และไม่ได้มีสูตรการผสมที่ตายตัว แต่สามารถปรับกลิ่นได้ตามที่ต้องการ และที่สำคัญนอกจากพิจารณาเรื่องกลิ่นที่หอม น่าค้นหา หรือน่าใช้แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงอีกเรื่องคือ สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยที่จะนำมาใช้ดูแลสุขภาพ หรือบำบัดอาการต่างๆ